วันนี้ (21พ.ค.) พันโทกรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรม เว็บสล็อตออนไลน์ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)พร้อมด้วย นาวาเอกบวร พรมแก้วงาม ผอ.สรมน.จว.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่ป.ป.ท. เจ้าหน้าที่ กอ.รมน.ภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ที่สงวนเลี้ยวสัตว์ปากบาง ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ซึ่งมีการร้องเรียนว่า นายทุนได้นำพื้นที่ในชาวต่างชาติออกเช่าเต็มพื้นที่ และการออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ที่สงวนเลี้ยงสัตว์เกาะโหลน ต.ราไวย์อ.เมืองภูเก็ต รวมถึงการตรวจสอบข้อร้องเรียนกรณีการตัดถนนการตัดถนนผ่านป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขากมลาของทาง อบต.กมลา อ.กะทู้ ด้วย โดยในแต่ละพื้นที่ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบและให้ข้อมูลด้วย อาทินายอำเภอกะทู้ ปลัดอำเภอเมืองภูเก็ต ตัวแทนเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น
พันโทกรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวภายหลังการตรวจสอบพื้นที่แต่ละแปลง ว่า สำหรับที่สงวนเลี้ยงสัตว์ปากบาง ต.กมลา อ.กะทู้
ซึ่งเบื้องต้นพบว่า กระทรวงมหาดไทย ประกาศหวงห้ามไว้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2480 ซึ่งรัฐบาลหวงห้าม ลำดับแปลงที่ 14 และได้นำขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2480 มหาดไทยเป็นผู้หวงห้ามเพื่อวัตถุประสงค์ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันเนื้อที่ 18-2-46 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ แจ้งจด สวนมะพร้าวนายดำ กรุณา ทิศใต้ แจ้งจด คลองปากบาง ทิศตะวันออก แจ้งจด ประทานบัตรบริษัท กมลาติน ทิศตะวันตกแจ้งจด อ่าวกมลา โดยพบว่ามีการยื่นขอออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ 3 แปลง หนึ่งในจำนวนนั้น ช่างรังวัดได้รายงานว่าไม่ทับที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งช่างรังวัดคนนี้ เป็นบุคคลเดียวกับคนรังวัดที่ดินเนื้อที่กว่า 200 ไร่ บนเทือกเขากมลาต.ป่าตอง อ.กะทู้ ให้อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นอกจากนั้นสภาพในพื้นที่ปัจจุบัน บางส่วนเป็นโรงเรียนประชานุเคราะห์ 36 แต่พื้นที่ส่วนที่เหลือไม่ปรากฏสภาพที่สงวนเลี้ยงสัตว์ พบแต่ร้านค้าร้านอาหาร จำนวน63 ร้าน โรงแรม 5แห่ง ซึ่งพบว่าร้านอาหารขนาดใหญ่เป็นของรองนายก อบต.ท่านหนึ่ง และร้านค้าส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติ รวมทั้งยังพบว่า ได้มีการยื่นขอออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ 3 แปลง แต่ยังไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้
ในส่วนของที่สงวนเลี้ยงสัตว์เกาะโหลน ต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต ข้าหลวงประจำจังหวัด ได้ประกาศหวงห้ามเมื่อ พ.ศ. 2476 ซึ่งรัฐบาลหวงห้าม ลำดับแปลงที่ 24 และได้นำขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2493 ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้หวงห้ามเพื่อวัตถุประสงค์ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ ระยะ 50 เส้น แจ้งจดควนเขาใต้ ระยะ 50 เส้น แจ้งจด ทะเล ทิศตะวันออก ระยะ 50 เส้น แจ้งจด ทะเล ทิศตะวันตก ระยะ 50 เส้น แจ้งจดทะเล ตรวจสอบพบว่าที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะโหลน (เป็นป่าคุ้มครองเมื่อปี พ.ศ. 2481 และประกาศป่าสงวนเมื่อ 22/11/2511 เบื้องต้นพบว่ามีการออกโฉนดที่ดินจำนวน 4 แปลง และ หนังสือรับรองการทำประโยชน์อีกจำนวน 1 แปลง เนื้อที่กว่า 246 ไร่ ซึ่งเอกสารเดิมที่นำยื่นขอออกคือ ส.ค.1 ซึ่งยื่นเมื่อปี พ.ศ. 2498 ผู้แจ้งอ้างว่าสับสร้างมาประมาณ 3 ปี (พ.ศ. 2495) สับสร้างเอง เมื่อประมาณ 8 ปี (พ.ศ.2490) ซึ่งเป็นการแจ้งภายหลังการประกาศหวงห้ามเป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อปี พ.ศ.2476 และเมื่อรวมเนื้อที่ ส.ค.1 ทุกแปลง เนื้อที่เพียง 101ไร่ แต่นำไปออกน.ส.3 ก. ได้เนื้อที่ 146 ไร่
“อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ตรวจสอบพื้นที่ได้มีชาวบ้านยื่นหนังสือให้ตรวจสอบการตัดถนนผ่านป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขากมลา ของ อบต.กมลา
โดยมีการอ้างว่าไม่ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ และจากการลงพื้นที่ไปตรวจสอบไม่มีบ้านเรือนราษฎรพบแต่โรงแรม และพบว่ากำลังมีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 40 ไร่ จึงได้ดำเนินการตรวจสอบด้วยเครื่อง GPS ตรวจวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล พบว่า สูงกว่าระดับน้ำ 108 เมตร ซึ่งตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกินกว่า 80 เมตรขึ้นไป ห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะได้ตรวจสอบว่าได้หน่วยงานใดเป็นผู้อนุญาตให้ก่อสร้าง และได้มีการทำจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งเรื่องทั้งหมดจะได้ให้สำนักงานป.ป.ท.เขต 8 ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียดอีกครั้ง รวมทั้งจะได้แจ้งให้กับทางจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป” พันโทกรทิพย์ กล่าวในที่สุด
บริษัท ภูเก็ต ดีพ ซี พอร์ต เปิดแผนพัฒนาท่าเรือภูเก็ต เตรียมรับเรือสำราญได้ วันนี้ (5 มิ.ย.) กรมเจ้าท่า ร่วมกับ บริษัท บริษัท ภูเก็ต ดีพ ซี พอร์ต จำกัด จัดประชุมเปิดโครงการท่าเรือภูเก็ต (Phuket Cruise Home Port) โดยมีนายณัฐ จับใจ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธาน พร้อมด้วย นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายวัลลภ พงษ์เลื่องธรรม ผู้จัดการท่าเรือ บริษัท ภูเก็ต ดีพ ซี พอร์ต จำกัด หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน เข้าร่วม ณ โรงแรมเคปพันวา ภูเก็ต เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนานาท่าเรือภูเก็ต รวมถึงรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนาท่าเรือภูเก็ต ภายหลังบริษัท ภูเก็ต ดีพ ซี พอร์ต ได้รับสัมปทานในการดำเนินการบริหารท่าเรือภูเก็ต เป็นเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2561 เป็นต้นไป
นายวัลลภ พงษ์เลื่องธรรม ผู้จัดการท่าเรือ บริษัท ภูเก็ต ดีพ ซี พอร์ต จำกัด กล่าวว่า ภายหลังจากที่ บริษัท ภูเก็ต ดีพ ซี พอร์ต จำกัด ได้รับสัมปทานจากกรมธนารักษ์ให้เข้ามาดำเนินการบริหารท่าเรือภูเก็ต เป็นเวลา 30 ปี ในเนื้อที่ 106 ไร่ ทางบริษัทจึงได้กำหนดแผนในการพัฒนาออกเป็น 4 เฟส โดยเฟสแรกนั้น จะต้องดำเนินการเป็นไปตามสัญญาใน TOR ที่ทำไว้กับกรมธนารักษ์ ด้วยการลงทุนก่อสร้างอาคารสำหรับรองรับผู้โดยสารในพื้นที่ 900 ตรม.มีการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆท่าเรือภูเก็ตให้เกิดความสวยงาม รวมถึงการขยายหน้าท่าให้สามารถรองรับเรือโดยสารหรือเรือสำราญให้ได้มากยิ่งขึ้น บริษัท ภูเก็ต ดีพ ซี พอร์ต เปิดแผนพัฒนาท่าเรือภูเก็ต เตรียมรับเรือสำราญได้ เว็บสล็อต